นมัสการพระแม่กวนอิมพันมือ มหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นองค์ ชมเทวรูปตามคติจีนนับไม่ถ้วน

 

แหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพฯ : ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4)

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) เป็นศาสนสถานและเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของศาสนพุทธฝ่ายมหายาน ตั้งอยู่ภายในซอยโชคชัย 4 เขตลาดพร้าว สร้างเสร็จสมบูรณ์ในปีพ.ศ. 2528 โดยพระอาจารย์ใหญ่ ดร.เสกกวงเซง หลังจากที่ได้เดินทางไปปฏิบัติธรรมยังประเทศต่างๆ และเมื่อได้กลับมาเมืองไทยแล้ว ท่านมีความตั้งใจจะสร้างสถานปฏิบัติธรรมขึ้น เพื่อเป็นการเผยแผ่พระธรรมในพระพุทธศาสนาและปฏิบัติบูชาถวายแด่พระพุทธองค์ พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (อวโลกิเตศวร) และเจ้าชายอั้งไฮ้ยี้ โดยแบ่งออกเป็นสองฝั่ง ได้แก่ ฝั่งพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ มีความสูง 21 ชั้น เป็นพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนิกชนนิยมมาสักการะองค์พระแม่กวนอิมพันมือ พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นองค์ และฝั่งตำหนักพระแม่กวนอิม  ประดิษฐานเทวรูปต่างๆจำนวนมาก

พุทธศาสนิกชนสามารถร่วมสวดมนต์ที่ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4)บริเวณพระมหาเจดีย์ได้ทุกวันเสาร์และอาทิตย์เวลา 14:00 – 15:00 และเฉพาะวันเสาร์เวลา 19:00 -21:00

 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อภาษาอังกฤษ : Kuan-Im Bodhisattva’s Hall (Chokchai 4)
วันเปิดให้บริการ :
เวลาเปิด-ปิด :
  • วันจันทร์ –วันศุกร์ และวันอาทิตย์ 7:00-19:00 
  • วันเสาร์ 7:00-21:00
ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้า
ช่วงเวลาสำหรับถ่ายภาพ :
 หมายเหตุ : ภายในตำหนักพระแม่กวนอิมห้ามถ่ายภาพบริเวณชั้นบน ส่วนบริเวณฝั่งพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ห้ามถ่ายภาพในบางชั้นบางจุด
เขต : ลาดพร้าว (Lat Phrao)
จังหวัด : กรุงเทพฯ (Bangkok)
แผนที่ : พิกัด 13.8099233,100.5951384

 

 

ฝั่งพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์

พระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์มีความสูง 21 ชั้น เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดจากความมุ่งมั่นอันแรงกล้าของพระเดชพระคุณพระอาจารย์ใหญ่ ฯ พร้อมด้วยนักบวชทุกรูป และบรรดาศิษยานุศิษย์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ร่วมแรงร่วมใจสร้างพระมหาเจดีย์นี้ขึ้นมา

ภายในพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ประดับไปด้วยพระพุทธรูปจำนวนมากเรียงรายอยู่ตามผนังต่างๆแต่ละชั้น พุทธศาสนิกชนมักนิยมมานมัสการพระแม่กวนอิมพันมือที่ชั้นสองซึ่งประดิษฐานองค์พระแม่กวนอิมพันเนตรพันกร จำนวน 4 องค์ ประดิษฐานทั้งสี่ทิศ ทำด้วยไม้จันทรหอมจากจีนปิดด้วยทองคำแท้ มีความสูง 8.30 เมตร นอกจากไว้องค์กวนอิมแล้ว
ยังสามารถตีระฆังและตีกลองเพื่อขอพร และเดินขึ้นไปสักการะพระบรมสารีริกธาตุที่อยู่ด้านบน ในแต่ละชั้นที่เดินขึ้นไปจะมีลักษณะต่างกัน เช่น ชั้นประวัติพระอาจารย์ใหญ่เสกกวงเชง ชั้นพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เป็นศิลปะแบบจีน นอกจากนั้นชั้นใต้ดินยังเป็นที่เก็บวัตถุโบราณต่างๆที่หาชมได้ยากอยู่จำนวนมาก แต่ละชั้นมีจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม

ที่มาของพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์นั้นในสมัยพุทธกาลในขณะที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาธรรมท่ามกลางพุทธบริษัทสี่จำนวนมากอยู่นั้น พระองค์ทรงตรัสว่า “วันนี้พวกเราโชคดี ที่ได้มีพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (พระแม่กวนอิม) เสด็จมาร่วมฟังธรรมด้วย” เมื่อนั้นพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ก็ทรงเปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทั้งทศทิศ สมณสงฆ์พร้อมสาธุชนซึ่งมาร่วมฟังพระธรรมเทศนาแห่งพระบรมศาสดาจึงเห็นพระรัศมีแห่งพระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์เสมือนพระองค์มีพันกร พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ทรงเปล่งวาจา ขอให้พระพุทธศาสนายั่งยืนเป็นหมื่นปี โดยพระองค์จะสร้างพระมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์ถวายเป็นพุทธบูชาธรรมบูชาแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ส่วนบริเวณลานหน้าพระมหาเจดีย์มีความร่วมรื่น มีสวนพระหินหยกขาวที่ประกอบไปด้วยรูปสลักหินเทวรูป พระพุทธรูป เทพและเซียนต่าง ๆ ซึ่งแกะสลักจากหินหยกขาวจากประเทศจีนและหินแกรนิตมากกว่า 300 องค์ วางเรียงรายอยู่บริเวณรอบพื้นที่ อาทิ รูปสลักเง็กเซียนฮ่องเต้ เอี๊ยง เอี้ยงไต้ซือ เทพเจ้ากวนอู รูปสลัก 18 อรหันต์  รูปสลัก 8 เซียน รูปสลักเทพเจ้า 4 ทิศ ฯ มีความงดงามเป็นอันมาก

 

วันเปิดให้บริการ :

สำหรับชั้นบนสุดและชั้นใต้ดิน

เวลาเปิด-ปิด : 09:00 – 16:00

 

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

 

ฝั่งตำหนักพระแม่กวนอิม

ตำหนักพระแม่กวนอิมสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน บริเวณลานด้านหน้าตำหนัก มีอาคารสุขาวดี เก๋งเทพเจ้าฟ้าดิน และ เสามังกร บริเวณเก๋งใหญ่ประดิษฐานองค์พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ประทับบนเสี่ยมชู้ (คางคก) และ เจ้าชายอั้งไฮ้ยี้โพธิสัตว์ ส่วนด้านในตำหนักประดิษฐานเทวรูปตามคติจีน พระแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ และพระพุทธรูปต่างๆเป็นจำนวนมาก เรียงรายมากมายนับร้อยนับพันองค์

 

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) กรุงเทพฯ

 

 

 

 

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว /  หากมาจากถนนลาดพร้าวให้เลี้ยวเข้าซอยโชคชัย 4 ตรงเข้ามาจนถึงซอย 39 ให้เลี้ยวซ้าย จะเห็นตำหนักพระแม่กวนอิมอยู่ทางขวาส่วนมหาเจดีย์พระพุทธเจ้าหนึ่งหมื่นพระองค์อยู่ทางขวามือ จอดรถฝั่งตำหนัก

การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ  / รถประจำทาง  8 27 44 73 92 96 122 126 137 145 172 178 191 502 514 545ร  ลงบริเวณปากซอยโชคชัย 4 แล้วนั่งรถโดยสารภายในซอยลงที่ซอย 39

 

 

การติดต่อ

ที่อยู่ : 4/37 โชคชัย 4 ซอย 39 ถ. โชคชัย 4 เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
การติดต่อ : 02 539 6228, 02 539 3951, 02 538 9368
Official Website : www.kycc4.com

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : เวบไซท์ตำหนักพระแม่กวนอิม (โชคชัย 4) , ป้ายข้อมูลภายในสถานที่
ภาพถ่ายโดย : Mahapunt Photography
เรียบเรียงโดย : www.zthailand.com

 

เนื้อหาและข้อความในบทความนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ได้สำรวจจากสถานที่จริง และ/หรือ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ด้วยเนื้อหาและข้อความถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ข้อมูลบางส่วนจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ได้อัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านต้องการแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกว่าสามารถส่งข้อมูลพร้อมระบุสถานที่และลิงค์มาได้ที่ contact@zthailand.com เพื่อให้ทีมงานได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการนำข้อมูลไปอ้างถึงบนเวบไซท์หรือสื่ออื่น กรุณาระบุที่มาและลิงค์กลับมาที่เวบไซท์  www.zthailand.com  ในขณะที่ภาพถ่ายทั้งหมดยังถือเป็น ลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยผู้ถ่ายภาพอนุญาตให้ใช้เฉพาะภายในเวบไซท์ www.zthailand.com เท่านั้น ห้ามมิให้ละเมิด ทำซ้ำ หรือดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น