พระปรางค์งดงามกลางเมือง โบราณสถานที่สำคัญสมัยทวารวดีของราชบุรี

 

แหล่งท่องเที่ยวราชบุรี : วัดมหาธาตุวรวิหาร

วัดมหาธาตุวรวิหาร เป็นปูชนียสถานที่สำคัญทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ตั้งอยู่ใจกลางเมืองราชบุรี จากประวัติพบว่าวัดมหาธาตุวรวิหารแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในสมัยทวารวดี โดยมีศูนย์กลางของเมืองในขณะนั้นอยู่ที่เมืองคูบัว และได้รับอิทธิพลของศิลปะลพบุรีในช่วงเวลาต่อมา จากนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้มีการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาขึ้นประกอบด้วย ปรางค์ประธาน และปรางค์บริวาร ด้านข้างด้านละ 1 องค์ ด้านหลัง 1 องค์ ได้รับการบูรณะอีกครั้งในราวสมัยอยุธยาตอนปลาย จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 2 เกิดมีการย้ายเมืองจึงทำให้วัดมหาธาตุและวัดใกล้เคียงกลายเป็นวัดร้าง ก่อนวัดมหาธาตุจะกลับมาเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 และเป็นกลายศูนย์กลางทางด้านพุทธศาสนามีความสำคัญของจังหวัดราชบุรีมาจนถึงปัจจุบัน

กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดมหาธาตุวรวิหารให้เป็นโบราณสถานระดับชาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มี ศิลปะโบราณวัตถุสถานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมีจำนวน 7 รายการ ได้แก่ พระปรางค์ ระเบียงคต พระวิหารนอกระเบียงคต กำแพงแก้ว พระมณฑป เจดีย์รายหน้าพระมณฑป และพระอุโบสถ

 

 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียกอื่นๆ : วัดหน้าพระธาตุ , วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ
ชื่อภาษาอังกฤษ : Wat MahaThat Worawihan
วันเปิดให้บริการ :
อำเภอ : อำเภอโพธาราม (Photharam)
จังหวัด : ราชบุรี (Ratchaburi)
แผนที่ : พิกัด 13.546664,99.814926

 

 

พระปรางค์วัดมหาธาตุ

เป็นปรางค์เก่าแก่ที่สร้างด้วยอิฐฉาบปูน มีความสูง 24 เมตร  จำลองแบบมาจาก นครวัด สันนิษฐานกันว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจในแหลมสุวรรณภูมิ ปรางค์ประธานและปรางค์บริวาร ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนทางทิศตะวันออกมีมุขยื่นออกมา มีบันไดขึ้นฐานเรือนธาตุและส่วนยอดประดับด้วยลายปูนปั้น ภายในองค์ปรางค์ประธานมีคูหาเชื่อมถึงกัน ผนังส่วนบนเขียนภาพอดีตพระพุทธเจ้าในซุ้มเรือนแก้วเป็นแถวเรียงต่อกัน ตอนล่างเป็นพุทธประวัติ สันนิษฐานว่าเขียนพร้อมกับการสร้างองค์ปรางค์ และซ่อมแซมพร้อมกับองค์ปรางค์ในเวลาต่อมาราวพุทธศตวรรษที่ 22 บริเวณฐานระเบียงมีทางเดินได้รอบลานพระปรางค์ มีเจดีย์ซุ้มทั้งสี่ด้าน

วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี

พระมงคลบุรี  และพระศรีนัคร์   พระประจำเมืองราชบุรี   สมัยอยุธยาตอนต้น

พระมงคลบุรี  พระศรีนัคร์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปอยุธยาตอนต้น มีเอกลักษณ์ของพระอู่ทองยุคหลัง เป็นพระพุทธรูปแบบหันหลังชนกัน ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการประดิษฐานพระไว้สี่มุมเมือง เรียกพระรักษาเมือง(พระสี่มุมเมือง) แบบเดียวกับยุคทวารวดี ทางทิศตะวันตกอยู่ที่จังหวัดราชบุรีหรือที่ พระวิหารหลวงในวัดมหาธาตุวรวิหารแห่งนี้ เรียกว่าพระมงคลบุรี หันหน้าสู่ทิศตะวันออก ด้านหลังสร้างไว้อีกองค์หนึ่งหันหน้าสู่ทิศตะวันตก หันหลังให้กัน ความหมาย คือ อาราธนาให้ช่วยระวังภัยพิบัติหน้าหลัง เรียกพระรักษาเมือง ตามความเชื่อของคนสมัยอยุธยา

ปัจจุบัน พระมงคลบุรี  และพระศรีนัคร์  ได้รับการปฏิสังขรณ์ปิดทอง ในปี พ.ศ. 2555

 

 

พระพุทธไสยยาสน์

เป็นพระพุทธรูปสร้างในสมัยอยุธยา ความยาวตั้งแต่พระเกตุถึงพระบาท 127 คืบ 9 นิ้ว มีการบูรณะในสมัยเจ้าอธิการแพ ปุณณชาโต เจ้าอาวาสรูปที่ 3 และมีการบูรณะอีกครั้งในปี พ.ศ.2526 พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ประดิษฐานอยู่ในระเบียงคดด้านหน้าปรางค์มหาธาตุ

 

วัดมหาธาตุวรวิหาร ราชบุรี

 

 

 

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว /  จากกรุงเทพฯ วิ่งเส้นเพชรเกษม มาทางนครปฐม มาทางราชบุรีโดยไม่ต้องเลี้ยวเข้าตัวเมือง ให้ตรงต่อมาทางเส้นเพชรเกษมจนข้ามแม่่น้ำแม่กลอง สังเกตขวามือจะเห็นปั๊มน้ำมันปตท.ฝั่งตรงข้าม เมื่อเลยมาจะเห็นซอยเล็กๆ ทางไปตลาดศรีเมือง ให้เลี้ยวซ้ายเข้่าซอยมาตรงมาตามทางจะพบวงเวียนเล็กๆ ให้วนไปเหมือนเลี้ยวขวา จะเห็นโรงเรียนทางซ่้ายมือ ด้านหน้าคือทางเข้าพระปรางค์วัดมหาธาตุ

 

 

การติดต่อ

ที่อยู่ : วัดมหาธาตุวรวิหาร ต.หน้าเมือง อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000
การติดต่อ : 032 337437 E-mail : wmt_rb@hotmail.co.th
Official Website : www.watmahathatvoraviharn.com
Social  Media : แทรก แทรก

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : เวบไซท์วัดมหาธาตุวรวิหาร
ภาพถ่ายโดย : Mahapunt Photography
เรียบเรียงโดย : www.zthailand.com

 

 


เนื้อหาและข้อความในบทความนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ได้สำรวจจากสถานที่จริง และ/หรือ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ด้วยเนื้อหาและข้อความถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ข้อมูลบางส่วนจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ได้อัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านต้องการแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกว่าสามารถส่งข้อมูลพร้อมระบุสถานที่และลิงค์มาได้ที่ contact@zthailand.com เพื่อให้ทีมงานได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการนำข้อมูลไปอ้างถึงบนเวบไซท์หรือสื่ออื่น กรุณาระบุที่มาและลิงค์กลับมาที่เวบไซท์  www.zthailand.com  ในขณะที่ภาพถ่ายทั้งหมดยังถือเป็น ลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยผู้ถ่ายภาพอนุญาตให้ใช้เฉพาะภายในเวบไซท์ www.zthailand.com เท่านั้น ห้ามมิให้ละเมิด ทำซ้ำ หรือดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น