ขึ้นหอคอยแห่งแรกและสูงที่สุดในประเทศ ชมวิวพระอาทิตย์ตกกลางเมืองสุพรรณ

 

แหล่งท่องเที่ยวสุพรรณบุรี : หอคอยบรรหาร

หอคอยบรรหาร-แจ่มใส หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า หอคอยบรรหาร ตั้งตามชื่อนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 และคุณหญิงแจ่มใส ศิลปอาชา ผู้เป็นภริยา ตั้งอยู่ภายในสวนเฉลิมภัทรราชินี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี สวนสาธารณะที่สร้างเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในวโรกาสครบ 60 พระพรรษา หอคอยบรรหารถือเป็นแลนด์มาร์คที่โดดเด่นที่เมื่อไหร่ที่พูดถึงจังหวัดสุพรรณบุรีมักจะต้องนึกถึงภาพหอคอยบรรหารขึ้นมาอยู่เสมอ หอคอยบรรหารเป็นหอคอยชมวิวแห่งแรกของประเทศและเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในประเทศไทย มีความสูงถึง 123.25 เมตร แบ่งออกเป็น 4 ชั้น นักท่องเที่ยวสามารถซื้อบัตรเพื่อขึ้นไปชมทัศนียภาพของหอคอยบรรหารชั้นบนได้รอบด้าน ที่น่าสนใจคือหอคอยบรรหารชั้นที่ 4 จะมีกล้องส่องทางไกลหยอดเหรียญให้บริการอยู่ทั่วทุกจุด สามารถมองเห็นเมืองสุพรรณบุรีได้ทั่วบริเวณ

ภายในสวนเฉลิมภัทรราชินี นอกจากจะมีหอคอยบรรหารแล้ว ยังมีอาคารจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ลานน้ำพุดนตรี และผาน้ำตก สวนพันธุ์ไม้นานาพันธุ์ สไลเดอร์และสวนน้ำ ประชาชนนิยมมาเดินเล่นและออกกำลังกายในสวนตอนเย็นๆ

 

หอคอยบรรหาร สุพรรณบุรี

 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียกอื่นๆ : หอคอยบรรหาร-แจ่มใส (ชื่อเรียกที่ถูกต้อง)
ชื่อภาษาอังกฤษ : Banhan-chaemsai Tower
วันเปิดให้บริการ :
เวลาเปิด-ปิด : วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10:00-20:30
วันอังคาร – ศุกร์ เวลา 10:00-19:00
ค่าเข้าชม : ค่าเข้าสวนเฉลิมภัทรราชินี
ผู้ใหญ่ 10 บาท เด็ก 5 บาทค่าขึ้นชมหอคอยบรรหาร-แจ่มใส
เวลา 10:00-18:00 ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก 15 บาท
หลังเวลา 18:00 ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
ช่วงเวลาสำหรับถ่ายภาพ :
อำเภอ : เมืองสุพรรณบุรี  (Muang Suphan Buri)
จังหวัด : สุพรรณบุรี (Suphan Buri)
แผนที่ : พิกัด 14.470555,100.118063

 

 

ขึ้นหอคอยบรรหาร ชมวิว

หอคอยบรรหารแบ่งออกเป็น 4 ชั้น จะมีเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับและพาขึ้นลิฟท์สูงขึ้นไปถึงชั้นบนเพื่อชมทิวทัศน์โดยรอบของเมืองสุพรรณบุรี ช่วงพระอาทิตย์ตกดินจะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการขึ้นมาชมหอคอยบรรหาร ในยามค่ำคืนหอคอยภายนอกจะเปิดไฟ มีความสวยงามโดดเด่นเป็นอย่างมาก

หอคอยบรรหาร แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้
ชั้นที่ 1 เป็นที่จำหน่ายบัตรและของที่ระลึก
ชั้นที่ 2 เป็นร้านจำหน่ายเครื่องดื่มอาหารว่างและจุดนั่งชมสวน
ชั้นที่ 3 เป็นร้านจำหน่ายของที่ระลึกและจุดชมตัวเมือง
ชั้นที่ 4 อยู่ในระดับสูงสุด 78.75 เมตร เป็นจุดชมทิวทัศน์ของจังหวัดสุพรรณบุรีโดยรอบ ผนังห้องแสดงภาพวาดสีน้ำมันเกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

 
หอคอยบรรหาร สุพรรณบุรี

หอคอยบรรหาร สุพรรณบุรี

 

 

จุดท่องเที่ยวอื่นๆในบริเวณสวนเฉลิมภัทรราชินี

จุดน่าสนใจอื่นๆภายในสวนฯ เปิดเป็นช่วงเวลา ดังต่อไปนี้

น้ำพุดนตรี และผาน้ำตก
วันศุกร์ 17:00-19:00
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
รอบเที่ยง เวลา 12:00-14:00 น.
รอบเย็น เวลา 17:00-19:00 น.

อาคารแสดงผลงานฯ 
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10:00-18:00
วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 13:00-18:00

สไลเดอร์และสวนน้ำ
วันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 10:00-18:00
วันอังคาร-ศุกร์ เวลา 15:00-18:00

 

 

 

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว /  จากถนนเส้นบางบัวทอง-สุพรรณบุรี (ทางหลวงสาย 340) เลี้ยวซ้ายเข้าถนนมาลัยแมน ตรงมาจนเจอแยกหอนาฬิกาให้เลี้ยวซ้าย ตรงมาประมาณ 1 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าถนนนางพิม ประมาณ 650 เมตร สวนเฉลิมภัทรราชินีทางเข้าหอคอยบรรหารจะอยู่ซ้ายมือ ที่จอดรถอยู่เลยประตูสวนไปเล็กน้อย

 

 

การติดต่อ

ที่อยู่ : สวนเฉลิมภัทรราชินี ถ.นางพิม ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี
การติดต่อ : 035 524060-4

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : แสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
ภาพถ่ายโดย : Mahapunt Photography
เรียบเรียงโดย : www.zthailand.com

 

 


เนื้อหาและข้อความในบทความนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ได้สำรวจจากสถานที่จริง และ/หรือ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ด้วยเนื้อหาและข้อความถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ข้อมูลบางส่วนจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ได้อัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านต้องการแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกว่าสามารถส่งข้อมูลพร้อมระบุสถานที่และลิงค์มาได้ที่ contact@zthailand.com เพื่อให้ทีมงานได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการนำข้อมูลไปอ้างถึงบนเวบไซท์หรือสื่ออื่น กรุณาระบุที่มาและลิงค์กลับมาที่เวบไซท์  www.zthailand.com  ในขณะที่ภาพถ่ายทั้งหมดยังถือเป็น ลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยผู้ถ่ายภาพอนุญาตให้ใช้เฉพาะภายในเวบไซท์ www.zthailand.com เท่านั้น ห้ามมิให้ละเมิด ทำซ้ำ หรือดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น