สักการะศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ อธิษฐานขอพรเสริมหลักชัยให้ชีวิต
แหล่งท่องเที่ยวกรุงเทพฯ : ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร
ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร หรือ ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ เป็นศาลที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ตั้งอยู่ใกล้บริเวณวัดพระแก้ว ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯเป็นที่สักการะกราบไหว้ของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อมาไหว้พระ 9 วัด ก็ต้องมาไหว้ที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯนี้ด้วย เชื่อว่าหากผู้ใดได้มาขอพรอันศักดิ์สิทธิ์จากศาลหลักเมืองนี้แล้ว เปรียบประดุจได้เสริมหลักความมั่นคงให้กับชีวิตเหมือนตัดเคราะห์ ต่อดวงชะตา ส่งเสริมวาสนาบารมี ประสบความสำเร็จในสัมมาอาชีพจนถึงหลักชัยในชีวิต
ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 พร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้าให้กระทำพิธียกเสาหลักเมือง ในปีพุทธศักราช 2324 ตามพพระราชพิธีนครฐาน ธรรมเนียมพิธีพราหมณ์ก่อนที่จะสร้างเมืองจะต้องทำพิธียกเสาหลักเมืองในที่อันเป็นชัยภูมิสำคัญ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองที่จะสร้างขึ้น
ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพฯมีเสาหลักเมืองอยู่ 2 ต้น โดยเสาต้นสูงคือครั้งรัชกาลที่ 1 ส่วนเสาอีกต้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้จัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ ประดิษฐานในอาคารศาลหลักเมืองที่สร้างใหม่ซึ่งจำลองงจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา
ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯได้รับการปฏิสังขรณ์อีกหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2523 มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่ เพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 200 ปี พ.ศ. 2524 ศาลหลักเมืองกรุงเทพฯก็ได้รับการบูรณะอย่างสวยงาม
ลำดับขั้นตอนการสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ
จุดที่ 1 หอพระพุทธรูป – กราบไหว้ ถวายดอกบัว ใส่บาตรพระประจำปีเกิด
จุดที่ 2 องค์พระหลักเมืองจำลอง – จุด ธูป เทียน ปิดทอง ผูกผ้าแพรสามสี มีจุดจำหน่ายเครื่องบูชาราคาถูกกว่าแม่ค้าด้านนอก
จุดที่ 3 องค์พระหลักเมืององค์จริง – นำพวงมาลัยถวาย 1 พวง
จุดที่ 4 หอเทพารักษ์ทั้ง 5 – กราบไหว้ถวายพวงมาลัย 5 พวง ถวาย เจ้าพ่อหอกลอง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และพระกาฬไชยศรี
จุดที่ 5 เติมน้ำมันพระประจำวันเกิด – เติมน้ำมันตะเกียงพระประจำปีเกิด และเติมน้ำมันสะเดาะเคราะห์
สำหรับคาถาบูชาองค์พระหลักเมืองคือ
(ท่องนะโม 3 จบ) ศรีโรเม เทพเทวานัง พระหลักเมืองเทวานัง พระภูมิเทวานัง ทีปธูปจะบุปผัง สักการะวันทนัง สูปพยัญชนะ สัมปันนัง สารีนัง อุททะกัง วะรัง เตปิตุม
เห อานุรักษ์ขันตุ อาโรขเยนะ สุเขนะจะ
ข้อมูลทั่วไป
![]() |
|||||||||||||||||||
![]() |
ชื่อภาษาอังกฤษ : | ![]() |
Bangkok City Pillar Shrine | ||||||||||||||||
![]() |
วันเปิดให้บริการ : | ![]() |
|
||||||||||||||||
![]() |
เวลาเปิด-ปิด : | ![]() |
05:30 – 19:30 | ||||||||||||||||
![]() |
เขต : | ![]() |
พระนคร (Phra Nakhon) | ||||||||||||||||
![]() |
จังหวัด : | ![]() |
กรุงเทพฯ (Bangkok) | ||||||||||||||||
![]() |
แผนที่ : | ![]() |
พิกัด 13.7526173,100.4941198 |
![]() |
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว /
|
![]() |
การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ /
|
ข้อมูลอ้างอิง
![]() |
|||
![]() |
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : | ![]() |
ป้ายข้อมูลภายในสถานที่ , wikipedia |
![]() |
ภาพถ่ายโดย : | ![]() |
Mahapunt Photography |
![]() |
เรียบเรียงโดย : | ![]() |
www.zthailand.com |
เนื้อหาและข้อความในบทความนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ได้สำรวจจากสถานที่จริง และ/หรือ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ด้วยเนื้อหาและข้อความถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ข้อมูลบางส่วนจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ได้อัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านต้องการแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกว่าสามารถส่งข้อมูลพร้อมระบุสถานที่และลิงค์มาได้ที่ contact@zthailand.com เพื่อให้ทีมงานได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการนำข้อมูลไปอ้างถึงบนเวบไซท์หรือสื่ออื่น กรุณาระบุที่มาและลิงค์กลับมาที่เวบไซท์ www.zthailand.com ในขณะที่ภาพถ่ายทั้งหมดยังถือเป็น ลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยผู้ถ่ายภาพอนุญาตให้ใช้เฉพาะภายในเวบไซท์ www.zthailand.com เท่านั้น ห้ามมิให้ละเมิด ทำซ้ำ หรือดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น