สักการะพระพุทธสิหิงค์กลางเมือง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา

 

แหล่งท่องเที่ยวเชียงใหม่ : พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ หรือ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมีความสำคัญกับจังหวัดเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วัดพระสิงห์ตั้งอยู่ใจกลางเมือง เป็นพระอารามหลวง ตามประวัติวัดพระสิงห์สร้างตั้งแต่สมัยพญาผายู กษัตริย์เชียงใหม่ราชวงศ์เม็งราย เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา เดิมมีชื่อว่า “วัดลีเชียงพระ” ส่วนชื่อวัดพระสิงห์นี้เป็นชื่อที่เรียกกันภายหลัง หลังจากอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา มีศิลปะเชียงแสน พระพุทธสิหิงค์องค์ที่อยู่ที่วัดพระสิงห์นี้ประดิษฐานในวิหารลายคำเป็นองค์จำลองมีศิลปะแบบเชียงแสน วัดพระสิงห์ได้ถูกปฏิสังขรณ์อยู่หลายครั้ง ในอดีตมีการขุดพบสิ่งของมีค่ามากมาย อาทิ แผ่นทองคำจารึกเรื่องราวต่างๆ โกศบรรจุอัฐิพระญาคำฟู แต่สิ่งของเหล่านี้สูญหายไปในช่วงสงครามเอเชียบูรพา

 

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อเรียกอื่นๆ : วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร
ชื่อภาษาอังกฤษ : Wat Phra Singh and Phra Buddha Sihing
วันเปิดให้บริการ :
เวลาเปิด-ปิด : 07:30 – 19:00
ช่วงเวลาสำหรับถ่ายภาพ :
อำเภอ : เมืองเชียงใหม่  (Muang Chiang Mai)
จังหวัด : เชียงใหม่ (Chiang Mai)
แผนที่ : พิกัด 18.788546,98.98235

 

 

สักการะพระพุทธสิหิงค์และวิหารลายคำ

พระสิงห์ หรือ พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ เป็นศิลปกรรมล้านนา ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารลายคำ วิหารนี้สร้างขึ้นในสมัยพระเมืองแก้ว หรือ ประมาณ พ.ศ.2038 – 2068  พระพุทธสิหิงค์นี้ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่งลังกาทวีปทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 700 ต่อมาได้มาประดิษฐานที่ประเทศไทยในสมัยพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย และได้ย้ายไปอยู่หลายที่ได้แก่ กำแพงเพชร อยุธยา เชียงใหม่ เชียงราย ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์องค์จริงนี้ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันมีพระพุทธสิหิงค์อยู่ด้วยกัน 3 องค์ องค์หนึ่งอยู่ที่กรุงเทพฯ องค์หนึ่งอยู่ที่หอพระพุทธสิหิงค์นครศรีธรรมราช อีกองค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์เชียงใหม่ ซึ่งพระพุทธสิหิงค์ที่วัดพระสิงห์นี้เป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสนสิงค์ 1 คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร

ส่วนวิหารลายคำนี้ได้บูรณะซ่อมแซมหลายครั้ง ด้านหน้ามีบันไดนาคและสิงห์ปูนปั้น ด้านทิศใต้เขียนถาพจิตรกรรฝาผนังเรื่อง สุวรรณหงส์ ทิศเหนือเรื่องสังข์ทอง เขียนขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นศิลปะที่สะท้อนวิถีชีวิตแบบล้านนาและวัฒนธรรมของภาคเหนือ ติดกันทางทิศตะวันตกของพระวิหารลายคำคือพระเจดีย์หลวง พระธาตุเจดีย์เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนาไทย เป็นพระเจดีย์ประจำปีเกิด ของผู้เกิดปีมะโรง

 

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

 

 

พระอุโบสถวัดพระสิงห์

ตั้องยู่ในบริเวณวิหารลายคำ เป็นศิลปกรรมล้านนามีโครงสร้างไม้ ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปในซุ้มปราสาท รายล้อมด้วยรูปจำลองเกิจอาจารย์ต่างๆ มีพระประธานคือพระเจ้าทองทิพย์หันพระพักตร์ไปทางทิศใต้ ด้านเหนือบริเวณประตูโขงมีความสวยงาม

 

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

 

วิหารหลวงวัดพระสิงห์

พระวิหารหลวงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บริเวณทางเข้าถนนราชดำเนิน มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  หลังคาช้อนลดชั้น  3  ด้านหน้ามีประตู  3  ช่อง มีลายปูนปั้นรูปนาคราชแผ่พังพาน  ประดับที่เชิงบันได เป็นศิลปะทรงไทยล้านนาสมัยครูบาศรีวิชัย  ภายในมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นประธาน ด้านหน้าจะพบกับอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย

 

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ เชียงใหม่

 

 

 

 

การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว /  ตั้งอยู่ในตัวคูเมืองเชียงใหม่ สุดถนนราชดำเนินด้านตะวันออก

การเดินทางโดยรถโดยสารสาธารณะ  / จากภายในตัวเมืองใหม่ ให้เรียกรถโดยสาร (รถแดง) ส่งที่วัดพระสิงห์

 

 

การติดต่อ

ที่อยู่ : เลขที่ 2 ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
การติดต่อ : 053 273703, 053 805005

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : ป้ายข้อมูลภายในสถานที่ , wikipedia , เวบไซท์สำนักงานจังหวัดเชียงใหม่ ,  สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ , สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพถ่ายโดย : Mahapunt Photography
เรียบเรียงโดย : www.zthailand.com

 

เนื้อหาและข้อความในบทความนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ได้สำรวจจากสถานที่จริง และ/หรือ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ด้วยเนื้อหาและข้อความถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ข้อมูลบางส่วนจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ได้อัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านต้องการแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกว่าสามารถส่งข้อมูลพร้อมระบุสถานที่และลิงค์มาได้ที่ contact@zthailand.com เพื่อให้ทีมงานได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการนำข้อมูลไปอ้างถึงบนเวบไซท์หรือสื่ออื่น กรุณาระบุที่มาและลิงค์กลับมาที่เวบไซท์  www.zthailand.com  ในขณะที่ภาพถ่ายทั้งหมดยังถือเป็น ลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยผู้ถ่ายภาพอนุญาตให้ใช้เฉพาะภายในเวบไซท์ www.zthailand.com เท่านั้น ห้ามมิให้ละเมิด ทำซ้ำ หรือดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น