รู้จักปลากัดไทยผ่านพิพิธภัณฑ์ที่เน้นการเรียนรู้คู่ธรรมชาติ บนพื้นที่สีเขียวบางกระเจ้า
แหล่งท่องเที่ยวสมุทรปราการ : พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย
พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ตั้งอยู่ที่เกาะกระเพาะหมูในพื้นที่สีเขียวบางกระเจ้าใกล้กับสวนบางกระเจ้า พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยนี้มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีชีวิต (Lived Learning Center) โดยมีส่วนการจัดแสดงปลากัดไทย หลากหลายพันธุ์ อาทิ ปลากัดป่า ปลากัดยักษ์ ปลากัดหม้อ ฯ แบ่งเป็นขวดโหลวางเรียงรายให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม และยังมีส่วนพยาบาลและส่วนดูแลอื่นๆทั้งหมดตั้งอยู่บริเวณใต้ถุนของอาคารหลัก แม้พื้นที่จัดแสดงจะไม่ใหญ่มากนัก แต่แนวคิดของการจัดพื้นที่เรายังจะสามารถเห็นส่วนอื่นๆเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการจัดผังให้กลมกลืนกับธรรมชาติ หากนักท่องเที่ยวได้มาเห็นก็จะหลงรักการจัดวางสวนภายนอกและมุมต่างๆรอบๆพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย ซึ่งเราสามารถเดินเล่นได้และสามารถสูดอากาศบริสุทธิ์ได้อย่างเต็มปอด ซึงบริเวณบางกระเจ้านี้เองทางนิตยสาร TIME เคยได้ยกย่องว่าพื้นที่ตรงนี้เป็น Best Urban Oasis ของเอเชีย กฏของที่นี่คือ “ห้ามตัดต้นไม้ทุกต้น” เพื่อคงความสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมดั้งเดิมให้มากที่สุด
ด้านบนของส่วนจัดแสดงปลากัดคือ “บ้านรักรู้” ที่จะแสดงวีดีทัศน์เกี่ยวกับปลากัด ที่นี่มีกิจกรรมให้กับนักเรียนโดยเฉพาะโปรแกรมที่ให้เด็กซื้อปลากัดและฝากเลี้ยงไว้จนครบ 3 เดือน เพื่อให้เด็กกลับมาวาดภาพปลากัดทุกๆอาทิตย์ให้เห็นถึงการเรียนรู้ด้านการเติบโตของปลา (โครงการนี้รุ่นหนึ่งๆรับประมาณ 60 คน และเปิดในช่วงปิดเอทมภาคฤดูร้อน) ถัดมาคือ “หอโลก” เป็นสถาปัตยกรรมเรือนไทยประยุกต์ซึ่งประดิษฐานบูรพกษัตริย์ไทย 2 พระองค์ และยังใช้จัดแสดงพันธุ์ปลาแม่น้ำเจ้าพระยาอื่นๆ นอกจากนั้นยังมีห้องเรียนธรรมชาติ ลานสันทนาการ สระน้ำขนาดใหญ่ และยังมีที่พัก ปัญญ์ธารา บูติกโฮม ให้บริการ ส่วนในช่วงเดือน พ.ย. ยังมีหิ่งห้อยได้ชมในบริเวณสวนรอบๆกันอีกด้วย
นักท่องเที่ยวที่ตั้งใจมาเที่ยว หรือนักท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ที่แวะมาพักหลังจากปั่นจักรยานรอบๆบางกระเจ้า มักไม่พลาดที่จะเข้ามาแวะชมพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้และสถานที่แห่งการพักผ่อนหย่อนใจเชิงนิเวศน์ที่พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทยแห่งนี้
ข้อมูลทั่วไป
![]() |
|||||||||||||||||||
![]() |
ชื่อเรียกอื่นๆ : | ![]() |
พิพิธภัณฑ์ปลากัด | ||||||||||||||||
![]() |
ชื่อภาษาอังกฤษ : | ![]() |
The Siamese Fighting Fish Gallery | ||||||||||||||||
![]() |
วันเปิดให้บริการ : | ![]() |
|
||||||||||||||||
![]() |
เวลาเปิด-ปิด : | ![]() |
10:00 – 17:00 | ||||||||||||||||
![]() |
ค่าเข้าชม : | ![]() |
ไม่เสียค่าเข้าชม แต่สามารถบริจาคค่าอาหารปลาได้ | ||||||||||||||||
![]() |
หมายเหตุ : | ![]() |
|
||||||||||||||||
![]() |
อำเภอ : | ![]() |
พระประแดง (Phra Pradaeng) | ||||||||||||||||
![]() |
จังหวัด : | ![]() |
สมุทรปราการ (Samut Prakan) | ||||||||||||||||
![]() |
แผนที่ : | ![]() |
พิกัด 13.699998,100.562698 |
![]() |
การเดินทางโดยทางรถยนต์ส่วนตัว / หากลงทางด่วนถนนสุขสวัสดิ์เลี้ยวซ้ายเข้าถนนนครเขื่อนขันธ์ (หรือเข้าถนนวงแหวนอุตสาหกรรมแต่ไม่ต้องขึ้นสะพานภูมิพล เลี้ยวขวาที่ถนนพระราชวิริยาภรณ์แล้วซ้ายอีกทีก็ได้) ตรงมาจนสุดจะถูกบังคับเลี้ยวซ้ายเพราะข้างหน้าคือวันเวย์ ก็จะเข้าสู่ถนนเพชรหึงษ์ ตรงมาข้ามสะพาน อีกประมาณ 6 กิโลให้เลี้ยวซ้ายเข้า ซ.เพชรหึงษ์ 33 หรือ ซ. วัดราษฏร์รังสรรค์ จะเป็นถนนเล็กๆซอกซอย ระวังรถสวน ตรงผ่านสวนศรีนครเขื่อนขันธ์อีก 200 เมตร จะเห็นซอยให้เลี้ยวขวาตามป้ายก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย |
![]() |
การเดินทางโดยทางเรือ / จากท่าเรือคลองเตย เข้าประตู 1 สุนทรโกษา จอดรถที่ลานจอดกรมศุลกากรฝ่ายส่งออก ข้ามเรือที่ท่าเรือวัดคลองเตยนอก (เจ๊สมศรี) มีเรือใหญ่ตั้งแต่เช้ามืดถึงเก้าโมงเช้า เรือจะวิ่งส่งสามจุดเป็นสามเหลี่ยม หากเลยเก้าโมงเช้าจะมีเรือหางยาววิ่งส่งตลอดจนถึงราวสามทุ่มครึ่ง บอกว่ามาท่าเรือกำนันขาว เมื่อข้ามมาแล้วเดินหรือนั่งวินอีกราว 400 เมตรก็ถึงพิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย |
![]() |
การเดินทางโดยรถจักรยาน / จากแผนที่ของการท่องเที่ยวฯ นักปั่นจักรยานนิยมใช้ทางซอยเพชรหึงษ์ 57 หรือ เส้นทางวัดราษฏร์รังสรรค์ ทางผ่านหน้าสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ ก็ได้ |
การติดต่อ
![]() |
|||
![]() |
ที่อยู่ : | ![]() |
พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย 18 หมู่ 3 ซ.เพชรหึงษ์ 33 ต.บางกระเจ้า อ.พระประแดง สมุทรปราการ 10130 |
![]() |
การติดต่อ : | ![]() |
02 815 1484 |
![]() |
Official Website : | ![]() |
www.fightingfishgallery.com |
ข้อมูลอ้างอิง
![]() |
|||
![]() |
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : | ![]() |
เวบไซท์พิพิธภัณฑ์ปลากัดไทย |
![]() |
ภาพถ่ายโดย : | ![]() |
Mahapunt Photography |
![]() |
เรียบเรียงโดย : | ![]() |
www.zthailand.com |
เนื้อหาและข้อความในบทความนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ซึ่งได้มาจากข้อมูลที่ได้สำรวจจากสถานที่จริง และ/หรือ จากแหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ด้วยเนื้อหาและข้อความถูกเรียบเรียงขึ้นมาใหม่ ข้อมูลบางส่วนจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนหรือไม่ได้อัพเดตให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน หากท่านต้องการแจ้งข้อมูลที่ถูกต้องกว่าสามารถส่งข้อมูลพร้อมระบุสถานที่และลิงค์มาได้ที่ contact@zthailand.com เพื่อให้ทีมงานได้ตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้องยิ่งขึ้น หากท่านใดต้องการนำข้อมูลไปอ้างถึงบนเวบไซท์หรือสื่ออื่น กรุณาระบุที่มาและลิงค์กลับมาที่เวบไซท์ www.zthailand.com ในขณะที่ภาพถ่ายทั้งหมดยังถือเป็น ลิขสิทธิ์ของผู้ถ่ายภาพ โดยผู้ถ่ายภาพอนุญาตให้ใช้เฉพาะภายในเวบไซท์ www.zthailand.com เท่านั้น ห้ามมิให้ละเมิด ทำซ้ำ หรือดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น